วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

อังกฤษพื้นฐาน ประธาน กริยา และกรรม

ประธาน กริยา กรรม  คืออะไร สำคัญอย่างไร

จากบทเรียนที่แล้วก็ได้เรียนรู้ไปแล้วว่า ประโยคประกอบด้วย ประธาน กริยา กรรม แล้วประธาน กริยา และกรรม คือะไร
ขออธิบายสั้นๆ ดังนี้
  • ประธาน คือ ผู้กระทำ
  • กริยา     คือ การการะทำ
  • กรรม คือ ผู้ถูกกระทำ
A monkey eats a banana.
ลิง            กิน      กล้วย
ลิง  เป็น ประธาน เพราะเป็นผู้กระทำ
กิน เป็น กริยา เพราะ เป็นการกระทำ
กล้วย เป็นกรรมเพราะเป็นผู้ถูกกระทำ (ถูกกิน)
ยกตัวอย่างข้อเดียวคงเข้าใจนะครับ

แล้วประธานสำคัญอย่างไร

บอกได้เลยว่าสำัคัญที่สุดในการเรียนรู้ไวยากรณ์ เพราะมันมีกฎข้อหนึ่งอยู่ว่า ประธานเอกพจน์  กริยาเติม sประธานพหูพจน์ไม่ต้องเติม s ถ้าเราไม่รู้ว่าประธานคืออะไร ตัวไหนคือประธาน มันเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้แล้วละก็ ม้วนเสื่อกลับบ้านได้เลย เพราะเรียนไปก็จะยิ่งงงกันไปใหญ่

ตัวไหนเป็นประธานในประโยคกันแน่

จากตัวอย่างลิงกินกล้วย รู้ไหมครับว่าอะไรเป็นประธาน ถูกต้องครับ ก็ลิงนั่นแหละ อันนี้ดูง่ายครับ เพราะเป็นประโยคธรรมดาๆ ที่ไม่ซับซ้อนอะไรเลย
ลองมาดูตัวอย่างด้านล่างกันนะครับ
The man from Thailand is very tall. ผู้ชาย ที่มาจาก ประเทศไทย ตัวสูง มาก
จากตัวอย่าง ผู้ชายนะครับที่เป็นประธาน ไม่ใช่ประเทศไทย
Two boys from China are very smart. เด็กชายสองคน ที่มาจากจีน หล่อมาก
จากตัวอย่าง เด็กผู้ชาย คือประธานของประโยค ไม่ใช่  China
และสังเกตให้ดีว่า สองประโยคด้านบนมีอะไรที่ต่างกัน  ถูกต้องครับ กริยา is กับ are ไง ประธานหนึ่งคนกริยามักลงท้ายด้วย s
The girl in this room drinks coffee everyday. เด็กหญิง ที่อยู่ห้องนี้ ดื่ม กาแฟ ทุกวัน
The girls in this room drink coffee everyday. เด็กหญิงทั้งหลาย ที่อยู่ห้องนี้ ดื่ม กาแฟ ทุกวัน
ตัวอย่างด้านบนนี้ ประธานคือ เด็กหญิง ไม่ใช่ ห้อง สังเกตว่าประธานคนเดียวกริยาเติม s หลายคนไม่ต้องนะครับ
นี่คือความสำคัญที่จะต้องแยกแยะให้ออกว่าอันไหนคือประธานของประโยค และประธานดังกล่าวเป็น เอกพจน์หรือพหูพจน์กันแน่ เพราะเอกพจน์กับพหูพจน์จะใช้กริยาไม่เหมือนกัน ซึ่งจะได้เรียนรู้เรื่องเอกพจน์พหูพจน์ ในบทต่อไป

การออกเสียง Verb หลังการเติม s, es

การออกเสียง Verb หลังการเติม s, es
การออกเสียง หรือ es ท้ายคำกริยา ออกเสียงได้ดังนี้

                     1. ออกเสียง เป็น /s/ เมื่อคำกริยาเหล่านั้นลงท้ายด้วย /f/, /k/, /p/, /t/ เช่น...

                              work              =     works
                              sit                   =     sits
                              stop                =     stops
                              laugh              =     laughs

                      2. ออกเสียง เป็น /z/ เมื่อคำกริยานั้นลงท้ายด้วยเสียงก้อง (Voice) เช่น...

                              read               =     reads
                              swim              =     swims
                              run                 =     runs
                              know              =     knows      
                              drive              =     drives

                      3. ออกเสียง เป็นเสียงอิซ /iz/ เมื่อคำกริยานั้นลงท้ายด้วยเสียง /s/, / t /, /dz/ และ /z/ เช่น...

                              change        =     changes
                              close            =     closes
                              kiss              =      kisses
                              lose              =      loses
                              mix              =      mixes
                              wash            =      washes
                              watch           =     watches

หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
ประโยค คือส่วนที่สำคัญที่สุดในโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เพราะในชีวิตประจำวัน เรามักพูดออกมาเป็นประโยค เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ แต่ประโยคนั้นประกอบขึ้นด้วยคำต่างๆ ดังนั้นถ้าเราจะเริ่มศึกษาวิธีการแต่งประโยค เราจึงต้องเริ่มต้นศึกษาจากคำก่อน
Words 
ชนิดของคำในภาษาอังกฤษมี 8 ชนิดด้วยกัน คือ
1. Nouns (คำนาม)
เช่น God, man, John, American, friend, star, stone, air, mile, beauty ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ แนวคิด นามธรรม และความเชื่อ
2. Pronouns (คำสรรพนาม)
เช่น I, you, he, she, my, your, his, that, who, what, which, one, some ใช้เรียกแทนคำนาม จะได้ไม่ต้องเอ่ยนามนั้นซ้ำอีก
ตัวอย่าง:
  John works at the hospital.  He is a doctor.
  Kate is my friend.  I know her well.
  A book is on the desk.  The book which is on the desk is about history.
  The children are playing outside.  Some of them are crying.
3. Adjectives (คำคุณศัพท์)
ใช้ขยาย noun กับ pronoun เพื่อบรรยายให้เห็นลักษณะของ noun กับ pronoun ชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็น adjective สำหรับบอกลักษณะ บอกปริมาณ และบอกจำนวน
     - Qualifier Adjectives หรือคำคุณศัพท์ที่ใช้บอกลักษณะ เช่น beautiful, healthy, kind, poor, fast, dry, black
ตัวอย่าง:
Noun
Adj. + Noun
Adj. + Adj. + Noun
  An apple  A red apple  A crispred apple
  A girl  A tall girl  A beautifultall girl
     - Quantifier Adjectives หรือคำคุณศัพท์ที่ใช้บอกปริมาณ เช่น many, much, few, little
ตัวอย่าง:
Noun
Adj. + Noun
  An apple  Many apples
  money  A little money
     - Numeral Adjectives หรือคำคุณศัพท์ใช้บอกจำนวนนับลำดับที่ เช่น one, two, three, first, second
ตัวอย่าง:
Noun
Adj. + Noun
  A house  Two houses
  Floor  First floor
4. Verbs (คำกริยา)
เช่น go, take, fight, speak, sleep, wait ใช้แสดงกริยาอาการต่างๆ เป็นส่วนสำคัญในภาคแสดงของประโยค นอกจากนี้ คำกริยายังแบ่งได้เป็น กริยาแท้ และกริยาไม่แท้
     - Finite Verbs กริยาแท้หรือคำกริยาที่สามารถผันตามประธานและรูปกาลได้
     - Non-finite Verbs (Verbals) กริยาไม่แท้ ไม่สามารถเปลี่ยนรูปได้
ตัวอย่าง: verb "be" มีกริยาในรูปต่างๆ ดังนี้
  Finite Form  Am, is, are, was, were
  Non-finite Form  Infinitive = to be
  Present Participle = being
  Past Participle = been
  Gerund = being
 5. Adverbs (คำวิเศษณ์)
เช่น well, fast, long, gently, recently, again, yesterday, soon, rather, perhaps, not
ใช้ขยาย verb, adverb, adjective, preposition, conjunction, phrase, sentence เพื่อเพิ่มความหมายให้กับสิ่งที่ถูกขยาย
ตัวอย่าง:
  ขยาย  verb  He walks.  He walks fast.
  ขยาย  adverb  The dog grows quickly.  The dog grows very quickly.
  ขยาย  adjective  It is hot today.  It is surprisingly hot today.
  ขยาย  preposition  My cat sits beside me.  My cat sits right beside me.
  ขยาย  conjunction  She will come though it is late.  She will come even though
   it is late.
  ขยาย  phrase  The hotel is on the top of
   the mountain.
  The hotel is nearly on the top of
   the mountain.
  ขยาย  sentence  The bus leaves at 10 p.m.  However, the bus leaves at
   10 p.m.
6. Prepositions (คำบุพบท)
เช่น at, in, into, of, for ใช้เชื่อมกริยากับส่วนต่างๆ ของประโยค เพื่อบอกเวลา สถานที่ และทิศทาง ทำให้ประโยคสมบูรณ์
ตัวอย่าง:
  In  He is in the pool.
  On  There is a mark on your shirt.
  At  He always arrives late at school.
  Against  A woman is standing against the door.
  Up to  I sleep up to 8 hours a day.
7. Conjunctions (คำสันธาน)
เช่น and, but, or, nor, that, if, because ใช้เชื่อมคำหรือประโยค มีทั้ง conjunction แบบคล้อยตาม ขัดแย้ง และเป็นเหตุเป็นผล
ตัวอย่าง:
  And  Thais eat with a spoon and fork.
  But  BMW is beautiful but expensive.
  Or  Would you like coffee or tea?
  Neithe...nor  Neither I nor she speaks Spanish.
  Because  Tim passed the exam because he studied hard.
8. Interjections (คำอุทาน)
เช่น oh, alas, hurrah ใช้แสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ต่างๆ
ตัวอย่าง:
  Well  Well! That’s expensive.
  Oh  Oh! That’s great.
ในภาษาอังกฤษคำหนึ่งคำอาจจะเป็นได้มากกว่าหนึ่งชนิด แต่เมื่อใช้ในบริบทหนึ่งๆ แล้ว คำๆ นั้นจะทำหน้าที่ได้แค่เพียงอย่างเดียว เช่น อาจจะเป็น verb หรือ noun หรือ อาจเป็น adverb หรือ preposition ก็ได้ ตัวอย่างเช่น
  Look:Look at that. (Look = verb)
Let me have a look at that. (look = noun)
  Walk:He walked all the way here. (walked = verb)
He is taking a walk. (walk = noun)
  In:Is John in? (in = adverb)
In the house. (In = preposition)
  Up:He climbed up. (up = adverb)
Climb up the wall. (up = preposition)
  After:He looked before and after. (after = adverb)
His dog trotted after him (after = preposition)
After we had left... (After = conjunction)

กริยาปัจจุบัน ประโยคคำตอบอย่างสั้นถึงประโยคการตอบด้วย yes/no

ริยาปัจจุบัน ประโยคคำตอบอย่างสั้นถึงประโยคการตอบด้วย yes/no
ประโยคคำถาม (Interrogative Sentences)
ในการพบปะพูดคุยกันในตอนแรกๆ หรือเมื่อพบกันใหม่ๆ นั้น ส่วนมากมักจะเป็นการถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกัน หรือถามเกี่ยวกับเรื่องราว หรือเหตุการณ์ต่างๆ ดังนั้น จึงใช้ประโยคคำถามคำตอบกันเป็นส่วนมาก จึงมีคำถามว่า เมื่อเราพบกันใหม่ๆ มักจะพูดใช้เสียงสระอะไรมากที่สุด คำตอบก็คือเสียงสระไอ ซึ่งก็คือคำถามนั้นเอง เช่นถามว่ามาเมื่อไร สบายดีไหม อยู่ที่ไหน มากับใคร จะเห็นว่าการเริ่มต้นในการพูดคุยสนทนานั้น มักจะเป็นการถามตอบกันเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าประโยคคำถาม เป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การสนทนาในรายละเอียด ฉะนั้นในที่นี้จึงเริ่มต้นศึกษากันด้วยประโยคคำถาม และเพราะประโยคคำถามนำไปใช้ในความหมายอื่นๆ ได้ด้วย ผู้ศึกษาจึงควรทำความเข้าใจให้ดี และใช้ให้ถูกต้อง
ประโยคคำถามมีหลายประเภท มีโครงสร้างและมีจุดมุ่งหมายใน การถามต่างกัน ซึ่งอาจจำแนกออกได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้
1. Yes/No Question         คำถามแบบรับและปฏิเสธ
2. Wh- question        คำถามแบบใช้คำถาม
3. Alternative Question     คำถามแบบให้เลือกเอา
4. Tag Question        คำถามในท่อนหลัง
5. Indirect Question         คำถามโดยอ้อมหรือคำถามปลอม ประโยคคำถามต่างๆ เหล่านี้ มีโครงสร้างต่างกัน ซึ่งจะกล่าวใน
รายละเอียดเป็นลำดับไป
Yes/No Question
ประโยคคำถามชนิดนี้ต้องการคำตอบรับ (Yes) หรือปฏิเสธ (No) เป็นการถามที่ผู้ถามอาจจะมีข้อมูลอยู่บ้างว่า น่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ถามเพื่อให้ได้ความแน่ใจว่าเป็นจริงตามที่เข้าใจหรือเปล่า ลักษณะโครงสร้างที่สำคัญของคำถามชนิดนี้ก็คือ วางกริยาไว้ต้นประโยค การสร้างประโยคคำถามชนิดนี้อาจจำแนกออกตามประเภทของกริยาที่ช่วยในการสร้างประโยค ดังนั้น ในที่นี้จึงแยกออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. ขึ้นต้นประโยคด้วยกริยา to be ถ้าในประโยคนั้นมีกริยาหลัก เป็น to be เมื่อสร้างเป็นประโยคคำถาม วางกริยา to be ไว้ต้นประโยคได้เลย เช่น
Are you hungry?
คุณหิวไหม
Is it very hot today?
วันนี้ร้อนมากใช่ไหม
Is your name Sharda?
คุณชื่อชาร์ดาใช่ไหม
Was the show interesting for you?
การแสดงน่าสนใจสำหรับคุณหรือไม่
Are you going to do exercises today?
วันนี้คุณจะทำแบบฝึกหัดหรือไม่
ประโยคเหล่านี้มีรูปเป็นบอกเล่าดังนี้
You are hungry.
It is very hot today.
Your name is Sharda.
The show was interesting for you.
You are going to do exercises today.
2. ขึ้นต้นประโยคด้วยกริยา to do ถ้าประโยคนั้นมีกริยาหลักไม่ใช่ to be ฌอสร้างเป็นประโยคคำถามต้องใช้กริยา to do มาช่วย และวางไว้ต้นประโยค โดยมีพจน์ (number) และกาล (tense) เช่นเดียวกันกับกริยาหลัก และเปลี่ยนกริยาหลักนั้นเป็นรูป infinitive คือรูปดั้งเดิมของกริยานั้น เช่น
Do you know his address?
คุณรู้ที่อยู่ของเขาไหม
Does she teach at your school?
เธอสอนอยู่ที่โรงเรียนคุณใช่ไหม
Does this bus go to the airport?
รถเมล์คันนี้ไปสนามบินใช่ไหม
Did you meet him at the party last night?
คุณพบเขาที่งานเลี้ยงเมื่อคืนนี้ไหม
Did he attend class yesterday?
เมื่อวานนี้เขาเข้าเรียนไหม
ประโยคคำถามเหล่านี้เปลี่ยนมาจากประโยคบอกเล่าดังนี้
You knows his address.
She teaches at your school.
This bus goes to the airport.
You met him at the party last night.
He attended class yesterday.
3. ขึ้นต้นประโยคด้วยกริยาช่วย (helping verb) อื่นๆ ถ้าในประโยคนั้นมีกริยาช่วยอยู่ด้วย เช่น will, can, may, would เมื่อเปลี่ยนเป็นประโยคคำถาม วางกริยาช่วยไว้ต้นประโยคได้เลย ถ้ามีกริยาช่วยหลายตัว นำเฉพาะกริยาช่วยตัวแรกไปวางต้นประโยค เช่น
Can you speak Thai?
คุณพูดไทยได้ไหม
May I help you?
ฉันจะช่วยเอาไหม
Shall we go shopping after class?
เลิกเรียนแล้วไปหาซื้อของกันไหม
Will she come back here next week?
เธอจะกลับมาที่นี่สัปดาห์หน้าใช่ไหม
Could you lend me this book for two days?
คุณจะกรุณาให้ฉันยืมหนังสือเล่มนี้สักสองวันได้ไหม
Have you been to Chiang Mai?
คุ    ณเคยไปเชียงใหม่หรือไม่
Should he be informed of the news?
ควรจะแจ้งข่าวให้เขาทราบไหม
ประโยคคำถามเหล่านี้มีรูปเป็นบอกเล่าดังนี้
You can speak Thai.
I may help you.
We shall go shopping after class.
She will come back here next week.
You could lend me this book for two days.
You have been to Chiang Mai.
He should be informed of the news.
ประโยคคำถามเหล่านี้สามารถสร้างเป็นรูปปฏิเสธได้ เรียกว่า คำถามปฏิเสธ (Interrogative Negative หรือ Negative Question) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแยกกล่าวไว้เป็นอีกชนิดหนึ่งต่างหาก เพื่อจะได้ศึกษาอย่างละเอียด แต่ในที่นี้ เพราะเห็นว่าเป็นประโยคที่มีโครงสร้างอย่างเดียวกัน เพียงเติม not เข้ามาเท่านั้น ซึ่งเป็นเครื่องหมายปฏิเสธ ดังนั้น จึงนำมากล่าวไว้ด้วยกัน เพื่อจะได้ศึกษาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน ฉะนั้นประโยคคำถามต่างๆ ที่ กล่าวมาแล้วนั้น สามารถสร้างเป็นคำถามปฏิเสธได้ดังนี้
Aren’t you hungry? (Are you not hungry?)
คุณไม่หิวใช่ไหม
Isn’t it very hot today? (Is it not very hot today?)
วันนี้ไม่ร้อนมากใช่ไหม
Wasn’t the show interesting for you?
การแสดงไม่เป็นที่น่าสนใจสำหรับคุณใช่ไหม
Don’t you know his address?
คุณไม่รู้ที่อยู่เขาใช่ไหม
Didn’t he attend class yesterday?
เมื่อวานนี้เขาไม่เข้าเรียนใช่ไหม
Can’t you speak Thai?
คุณพูดภาษาไทยไม่ได้ใช่ไหม
Won’t she came back here next week?
สัปดาห์หน้าเธอจะไม่กลับมาที่นี่ใช่ไหม
Haven’t you been to Chiang Mai?
คุณไม่เคยไปเชียงใหม่ใช่ไหม
Shouldn’t he be informed of the news?
ไม่ควรแจ้งข่าวให้เขาทราบใช่ไหม
Couldn’t you lend me this book for two days?
คุณจะไม่ให้ฉันยืมหนังสือเล่มนี้สักสองวันใช่ไหม
การตอบคำถามแบบ Yes/No Question
ดังได้กล่าวแล้วคือ คำถามประเภทนี้ต้องการคำตอบรับ (yes) หรือปฏิเสธ (no) การตอบคำถามชนิดนี้อาจจำแนกกล่าวได้เป็น 2 แบบ ตามชนิดของลักษณะคำถาม คือ คำถามแบบธรรมดาและคำถามแบบปฏิเสธ ดังนี้
1. ตอบคำถามแบบธรรมดา เป็นคำถามแบบประโยคบอกเล่า ซึ่งถือเป็นคำถามธรรมดา ไม่ต้องการการตอบรับหรือปฏิเสธอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ ฉะนั้น ผู้ถามจึงคาดว่าจะได้คำตอบรับหรือปฏิเสธก็ได้ แม้ว่าบางครั้งอาจจะหวังการตอบรับมากกว่าปฏิเสธก็ตาม ดังนั้น ในการตอบจึงอาจจะเป็นการรับหรือปฏิเสธ โดยมีโครงสร้างประโยคดังนี้
-ถ้าตอบรับ ต้องขึ้นต้นประโยคด้วย Yes แล้วตามด้วยประโยค บอกเล่า ซึ่งใช้คำสรรพนาม (pronoun) เป็นประธาน แล้วตามด้วยกริยาช่วย ที่ใช้ในประโยคคำถาม
-ถ้าตอบปฏิเสธ ต้องขึ้นต้นประโยคด้วย No แล้วตามด้วยประโยค ปฏิเสธ ซึ่งมีประธานและกริยาอย่างเดียวกันกับประโยคบอกเล่า เพียงแต่เติม not เข้ามาหลังกริยาซึ่งเป็นเครื่องหมายปฏิเสธ

Noun action verbs

action verb & stative verb
คำกริยาในภาษาอังกฤษมีเย๊อะแยะมากมาย เรารู้กันดีอยู่แล้วว่ากริยาคือคำที่แสดงการกระทำ แค่กริยาอย่างเดียวก็ถูกแบ่งเป็นกลุ่มได้หลายแบบ ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • Action verb
  • Stative verb
1. action verbหรือ บางคนเค้าก็เรียกว่า dynamic verb คือคำกริยาที่แสดงอาการ การกระทำ มีการขยับเขยื้อน เคลื่อนไหว พูดง่ายๆคือ เรานึกภาพออกว่าเขาทำกริยานั้นๆอย่างไร เช่น ถ้าบอกว่า เขากินข้าว เราก็นึกภาพออกว่าเขากำลังตักข้าวเข้าปาก   หรือ เขากระโดด เราก็เห็นภาพคนกำลังกระโดด   ที่มันได้ชื่อเก๋ๆมาอีกชื่อหนึ่งว่า dynamic verb เพราะคำว่า dynamic มันแปลว่า เคลื่อนไหว ไงล่ะคะ กริยากลุ่มนี้มีเยอะแยะ มากมาย ส่วนใหญ่ก็เป็นกริยาที่เราเรียนมากันตั้งแต่ประถมนั่นแหละค่ะ เช่น eat, drink, speak, write, catch, go, walk, watch, sit, hit, sleep, hold, etc. นี่แค่ตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพของ action verb เท่านั้นค่ะ

2. stative verbหรือบางครั้งเรียกว่า state verb หรือ abstract verb คือคำกริยาที่ไม่ได้แสดงการกระทำหรือการเคลื่อนไหว แต่เป็นกริยาที่แสดงสภาวะ คำกริยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม stative verb แบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้ค่ะ

2.1 คำกริยาที่แสดงการรับรู้ แสดงถึงการใช้ประสาทสัมผัส ดู ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สึก คือ hear, see, smell, taste, feel ตัวอย่างประโยค เช่น

The roast chicken smells good.              ไก่ย่างกลิ่นหอมจัง
I heard someone crying outside.            ฉันได้ยินใครบางคนร้องไห้อยู่ข้างนอก
2.2 คำกริยาที่แสดงสภาวะทางความคิด เช่น believe, know, recognize, think, doubt, mean, remember, understand, forget, realize, suppose, etc.

I don’t know Jason, so I won’t invite him to my birthday party.
I recognized you as soon as you come into the room.
2.3 คำกริยาที่แสดงความเป็นเจ้าของ เช่นbelong, own, have, possess

That is the only valuable thing I possess.         นั่นเป็นสิ่งมีค่าชิ้นเดียวที่ฉันมี
I don’t have any money left.                            ฉันไม่มีเงินเหลืออยู่เลย
2.4 คำกริยาแสดงอารมณ์หรือความรู้สึก เช่นlove, like, hate, mind, envy, wish, prefer, fear, surprise, astonish, etc.

I like her style.
I prefer tea to cake.
2.5 คำที่แสดงการวัดหรือการประมาณค่า เช่น weigh, cost, measure, contain, equal, etc.

This pack of sugar weighs more than that one. น้ำตาลถุงนี้หนักมากกว่าถุงนั้น
The ring costs 23,000 baht. แหวนวงนี้ราคา 23,000 บาท
2.6 คำกริยาแสดงสภาวะอื่นๆ เช่นverb to be (is, am, are), owe, seem, exist, require, etc.

I owe you a lot. ฉันเป็นหนี้คุณมากมายเหลือเกิน
It seems that you don’t understand me.   ดูเหมือนว่าเธอจะไม่เข้าใจฉัน
*** stative verb บางคำเป็นได้ทั้ง action verb และ stative verb ดังนั้นในการนำไปใช้จะต้องแยกนิดนึงว่า เป็นแบบไหนเพราะถ้าเป็นแบบ stative verb จะเอามาทำเป็น continuous tense หรือกริยารูปกำลังกระทำไม่ได้ เช่น

The cake tastes delicious. (stative verb) เค้กมีรสอร่อย
(เราจะไม่พูดว่า The cake is tasting delicious. แปลว่า เค้กกำลังมีรสอร่อย แบบนี้ผิดค่ะ )
I’m tasting the soup. Let’s see if it’s too much salty. (action verb)

3 Frequency adverbs ( คำกริยวิเศษณ์แสดงความถี่ )

Adverbs of Frequency: กริยาวิเศษณ์แสดงความถี่ 
Adverbs of Frequency คือ กริยาวิเศษณ์แสดงความถี่ โดยเราจะนำ Adverbs of Frequency มาช่วยในการบ่งบอกถึงความบ่อยหรือความถี่ (how often) ของเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งคำเหล่านี้นั้นมีอยู่มากมาย โดยที่มักเห็นได้ทั่วไป นั่นก็คือ
always
เป็นประจำอย่างสมํ่าเสมอ
often
บ่อยๆ
frequently
บ่อยๆ
usually
โดยปกติ
sometimes
บางครั้ง
mostly
โดยส่วนใหญ่
normally
โดยปกติแล้ว
generally
โดยทั่วไป
repeatedly
ซ้ำไปซ้ำมา
occasionally
ในบางโอกาส
*seldom
ไม่ค่อยจะนานๆครั้ง
*hardly
แทบจะไม่
*barely
แทบจะไม่
*rarely
แทบจะไม่
*scarcely
แทบจะไม่
*never
ไม่เคย
*คำว่า seldom, hardly, barely, rarely, scarcely, never เป็นคำที่มีความหมายเป็นเชิงปฏิเสธอยู่แล้ว เราจึงไม่ควรทำให้ประโยคเป็นรูปปฏิเสธอีก เมื่อใช้คำเหล่านี้ เช่น I hardly cook. = ฉันแทบจะไม่เคยทำกับข้าวเลย
และนอกจากคำเหล่านี้ยังมี Adverbs อีกมากมายที่สามารถนำมาใช้ในการบ่งบอกถึงความถี่ได้ เช่น

infrequently
นานๆที
habitually
ทำเป็นประจำจนเป็นนิสัย
chiefly
โดยส่วนใหญ่
continuously
ติดต่อกันเรื่อยๆ
constantly
สม่ำเสมอ
commonly
โดยทั่วไป
regularly
สม่ำเสมอ
sporadically
นานๆครั้ง
periodically
เป็นบางครั้งบางคราว
intermittently
เป็นพักๆ
spasmodically
เป็นพักๆ

บทที่ 1 ตอนที่ 2.การใช้ Present simple vs Present continuous

ช้ Present simple vs Present continuousPresent continuous หรือบางคนเรียก Present progressive เป็นรูปที่ แสดงกิจกรรมหรือการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ เดี๋ยวนี้ ขณะที่กำลังพูด (an activity that is in progress right now) ซึ่งก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะจบสิ้นการกระทำนั้นเมื่อใด แต่ที่แน่ๆ คือจะจบในอนาคต ตอนไหนไม่รู้ โดยมากมักมีคำ หรือวลี ชี้แสดงว่ากำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูดถึงการกระทำนั้นๆ เช่น right now, at the moment, now
ตัวอย่าง
John is repairing a car at the moment.
จอห์นกำลังซ่อมรถยนต์อยู่ตอนนี้
It’s noon. I am eating lunch at the cafeteria right now.
มันเป็นเวลาเที่ยงวัน ฉันกำลังทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารอยู่ขณะนี้ Ann can’t come to the phone now because she is taking a shower.
แอนไม่สามารถมารับโทรศัพท์ตอนนี้ได้ เพราะเธอกำลังอาบนํ้า
ส่วน Present simple ใช้เพื่อแสดงทั้งอุปนิสัยหรือการกระทำตามปกติในชีวิตประจำวัน (daily habits or usual activities) หรือเพื่อแสดงถึงความเป็นจริงเสมอ (general statements of fact) มักจะเป็นหลักความจริงทางวิทยาศาสตร์
ตัวอย่าง
Mark is a mechanic. He repairs cars.
มาร์คเป็นช่างเครื่องยนต์ เขาซ่อมรถยนต์
Ann takes a shower every day.
แอนอาบน้ำทุกวัน
The earth revolves around the sun.
โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์
A square has four equal sides.
สี่เหลี่ยมจัตุรัสมีด้านเท่ากัน 4 ด้าน
ลองดูตัวอย่างที่มีทั้ง Present continuous และ Present simple ใน ข้อความต่อไปนี้แล้วลองหาเหตุผลดูว่าทำไมบางข้อความจึงใช้ Present continuous บางข้อความใช้ Present simple
John is a journalist. He writes for a newspaper. He isn’t at work at the moment. He’s at home. He’s repairing his car.
จอห์นเป็นนักข่าว เขาทำงานเขียนให้กับหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ขณะนี้เขาไม่ทำงาน เขาอยู่บ้าน เขากำลังซ่อมรถยนต์ของเขา
อธิบาย ในข้อความ He writes for a newspaper. ใช้กริยา writes ใน รูป Present simple ก็เพราะเป็นกิจกรรมปกติที่เขากระทำประจำเสมอ นั่นคือการเป็นนักข่าว ส่วนในข้อความ He’s repairing his car. ใช้กริยา ’s repairing (= is repairing) ในรูป Present continuous ก็เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้คือเขาไม่ได้ไปทำงาน อยู่บ้าน จึงใช้เวลาซ่อมรถของตนเอง
Michael is a mechanic. He repairs cars. He isn’t at work now. He’s at home. He’s writing a letter.
ไมเคิลเป็นช่างเครื่องยนต์ เขาซ่อมรถยนต์ ตอนนี้เขาไม่ทำงาน เขาอยู่บ้าน เขากำลังเขียนจดหมาย
อธิบาย ในข้อความ He repairs cars. ใช้กริยา repairs ในรูป Present simple ก็เพราะเป็นงานอาชีพที่เขากระทำอยู่เป็นประจำ นั่นคือ การเป็นช่างเครื่องยนต์ ส่วนในข้อความ He’s writing a letter. ใช้กริยา ’s writing (= is writing) ใน รูป Present continuous ก็เพราะเป็นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ คือเขาไมได้ไปทำงาน อยู่บ้าน เขียนจดหมาย
Present
อธิบาย จากการสนทนาของบุคคล 2 คนในภาพซ้ายมือหญิงคนหนึ่งถามว่า “เคนอยู่ที่ไหน’’ หญิงอีกคนตอบว่า “เขากำลังชมโทรทัศน์’’ การที่หญิงคนนี้ตอบเช่นนี้ก็เพราะเธอรู้ว่าขณะนี้นายเคนกำลังชมโทรทัศน์อยู่ และภาพที่แลเห็นเมื่อมองผ่านประตูห้องเข้าไปก็พบว่า “นายเคนกำลังชมโทรทัศน์’’ อยู่ ในขณะที่หญิงคนแรกถาม จึงพอจะกล่าวได้ว่า เราใช้ Present continuous เพื่อบ่งบอกว่าเหตุการณ์หรือกิจกรรมนั้นๆ กำลังดำเนินอยู่ในขณะที่พูดถึงในขณะปัจจุบัน เป็นการกระทำชั่วคราว มิได้ทำเป็นนิจสิน
สำหรับภาพทางขวามือ หญิงคนที่หนึ่งรู้ว่านายเคนชมข่าวทางโทรทัศน์ทุกเย็นจนเป็นนิสัยที่ทำมาโดยตลอดไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในอุปนิสัยของนายเคนซึ่งเป็นสามีของเธอ จึงพอจะกล่าวได้ว่าเราใช้ Present simple เพื่อบ่งบอกถึงการกระทำที่ทำซ้ำๆ หรือทำเป็นนิสัย เป็นการถาวร ทำเป็นนิจสิน
ต่อไปนี้จะขอเปรียบเทียบการใช้ Present simple และ Present continuous โดยละเอียดทีละเรื่องๆ ดังนี้
1. การกระทำเป็นกิจวัตร (routine) กับการกระทำที่เกิดขึ้นขณะที่กำลังพูด (moment of speaking)
ตัวอย่าง
1. James works for an investment magazine. Every month he writes articles about investment opportunities.
เจมส์ทำงานกับนิตยสารการลงทุนทุกเดือนเขาเขียนบทความเกี่ยวกับ โอกาสการลงทุน
2. Take these figures to James. He needs them fot”an article he is writing.
จงเอาตัวเลขเหล่านี้ไปให้เจมส์ เขาต้องใช้มันเพราะเขากำลังเขียน บทความเรื่องหนึ่ง
อธิบาย ในตัวอย่างที่ 1 เป็นการกล่าวถึงสิ่งที่เจมส์ทำอยู่ประจำเป็นนิจสิน ถือเป็น routine จึงใช้รูป Present simple ส่วนในตัวอย่างที่ 2 เป็นการกล่าวถึงสิ่งที่นายเจมส์กำลังกระทำอยู่ในขณะที่กำลังกล่าวถึง จึงใช้รูป Present continuous
2. กิจกรรมทั่วไป (general activities) กับกิจกรรมที่เกิดขึ้นในขณะ ปัจจุบัน (current activities)
ตัวอย่าง
1. I work for ‘Teletraining’ We make training video.
ผมทำงานกับเทเลเทรนิ่ง เราทำวิดีโอเพื่อการฝึก
2. At the moment we’re making a training video for British Telecom.
ขณะนี้พวกเรากำลังทำวิดีโอเพื่อการฝึกให้กับบริษัทบริติชเทเลคอม
อธิบาย ในตัวอย่างที่ 1 เป็นการกล่าวถึงกิจกรรมปกติทั่วไปที่คนงานใน บริษัทเทเลเทรนิ่งทำ จึงใช้รูป Present simple ส่วนในตัวอย่างที่ 2 เป็นการกล่าวถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบันกำลังพูดถึง จึงใช้รูป Present continuous
3. สถานการณ์ถาวร (permanent situations) กับสถานการณ์ชั่วคราว (temporary situations)
ตัวอย่าง
1. Peter lives in London.
ปีเตอร์อาศัยอยู่ในลอนดอน
2. Peter is staying in a hotel.
ปีเตอร์พักอยู่ใน โรงแรม
อธิบาย ในตัวอย่างที่ 1 เป็นการกล่าวถึงสภาพการณ์ที่ถาวร นั่นคือปีเตอร์มีที่อยู่อาศัยในลอนดอน จึงใช้รูป Present simple ส่วนตัวอย่างที่ 2 เป็นการกล่าวถึงสถานการณ์ชั่วคราว ปีเตอร์มาพักที่โรงแรม จึงใช้รูป Present continuous

4. ความจริงตลอดกาล (facts) กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ (slow changes) .
ตัวอย่าง
1. As a rule, cheap imports lead to greater competition.
ตามหลักเกณฑ์แล้ว สินค้านำเข้าราคาถูกทำให้เกิดการแข่งขันกันเพิ่มขึ้น
2. Cheap imports are leading to the closure of many factories.
สินค้านำเข้าราคาถูกกำลังทำให้โรงงานหลายแห่งปิดกิจการ
อธิบาย ในตัวอย่างที่ 1 เป็นการกล่าวถึงความเป็นจริงแน่นอน เพราะเมื่อสินค้านำเข้าราคาถูกก็จะเกิดการแข่งขันกันสูง จึงใช้รูป Present simple ส่วนตัวอย่างที่ 2 เป็นการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในขณะนี้ จึงใช้รูป Present continuous
5. ตารางเวลาหรือโปรแกรมที่กำหนดไว้แน่นอน (fixed timetable or program) กับแผนการที่ตระเตรียมไว้ว่าจะทำในอนาคต (arranged plans for the future)
ตัวอย่าง
1. The film starts at 7.30 and finishes at 9.00.
ภาพยนตร์เริ่มฉายเวลา 7.30 น. และสิ้นสุดเวลา 9.00 น.
2. I’m meeting Sarah at 9.00 p.m. on Saturday.
ผมจะพบปะกับซาร่า 9 โมงวันเสาร์
อธิบาย ในตัวอย่างที่ 1 เป็นการกล่าวถึงโปรแกรมที่กำหนดไว้ตายตัวแล้ว จึงใช้รูปคำกริยาเป็น Present simple ส่วนในตัวอย่างที่ 2 เป็นการกล่าวถึงแผนการที่ได้ตระเตรียมไว้ว่าจะทำในอนาคต จึงใช้รูปคำกริยาเป็น Present continuous
6. คำกริยาไร้การเคลื่อนไหว (stative verbs) เป็นคำกริยาที่บ่งบอก สภาพการณ์ (states) ไม่บ่งบอกการเคลื่อนไหว (actions) ดังนั้นคำกริยาประเภทนี้จึงมักจะไม่ใช้ในรูป continuous ได้แก่
6.1 คำกริยาที่เกี่ยวกับความคิด (verbs of thinking) ได้แก่ believe, doubt, imagine, know, realize, suppose, understand, think*
6.2 คำกริยาเกี่ยวกับประสาทสัมผัส (verbs of senses) ได้แก่ hear, smell, sound, taste
6.3 คำกริยาเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ (verbs of possession) ได้แก่ belong to, have* (= possess), own, possess
6.4 คำกริยาเกี่ยวกับอารมณ์ (vebs of emotion) ได้แก่ dislike, hate, like, love, prefer, regret, want, wish
6.5 คำกริยาเกี่ยวกับรูปร่าง (verbs of appearance ) ได้แก่ appear, seem
6.6 คำกริยาอื่นๆ (other verbs) ได้แก่ contain, depend on, include, involve, mean
(คำที่มีเครื่องหมาย * ได้แก่ think และ have สามารถเป็นได้ทั้งรูป Simple และ Continuous)
ตัวอย่าง
ผิด     I’m sorry, I’m not understanding what you mean.
ถูก     I’m sorry, I don’t understand what you mean.
ผมเสียใจ ผมไม่เข้าใจว่าคุณหมายถึงอะไร
ผิด     I am hearing a bird.
ถูก     I hear a bird.
ดิฉันได้ยินเสียงนก
ผิด     Are you believing in flying saucers ?
ถูก     Do you believe in flying saucers ?
คุณเชื่อในเรื่องจานบินหรือเปล่า
ผิด     I’m thinking that grammar is difficult.
ถูก     I think that grammar is difficult.
ผมคิดว่าไวยากรณ์เป็นเรื่องยาก
ผิด     I think about grammar right now.
ถูก     I am thinking about grammar right now.
ผมกำลังคิดถึงเรื่องไวยากรณ์อยู่ตอนนี้

อังกฤษพื้นฐาน ประธาน กริยา และกรรม

ประธาน กริยา กรรม  คืออะไร สำคัญอย่างไร จากบทเรียนที่แล้วก็ได้เรียนรู้ไปแล้วว่า ประโยคประกอบด้วย ประธาน กริยา กรรม แล้วประธาน กริยา และก...